“หนึ่ง” วีระชัย ยื่นหนังสือให้ผู้ว่าระยองเร่งตรวจสอบสาเหตุสถานการ์นํ้ามันดิบรั่วไหล

‼️”หนึ่ง” วีระชัย ช้างสาร เครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ภาคตะวัน ออกยื่นหนังสือให้ผู้ว่าระยอง เร่งตรวจสอบสาเหตุสถานการ์นํ้ามันดิบรั่วไหล

โดยมีเนื้อหาดังนี้…
เรื่อง เร่งตรวจสอบสาเหตุสถานการ์นํ้ามันดิบรั่วไหล บมจ.สตาร์ปิ โตเลี่ยม ท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง
เรียน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผ่านศูนย์ดํารงธรรมจังหวัดระยองด้วยเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๒๑.๐๖ น. พบนํ้ามันดิบรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือนํ้าลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุกถ่ายนํ้ามันในทะเลSingle point mooring : (SPM) ของบริษัท สตาร์ ปิ โตเลี่ยม รีไฟน์นิ่ง จํากัด (มหาชน ) หรือ SPRC ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จากเหตุการณดังกล่าวส่งผลกระทบเกิดความเสียหายมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ต่อตัวบุคคล กลุ่มบุคคลในสังคมเป็นวงกว้างก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม แหล่งอาหาร ทรัพยากร และระบบนิเวศน์ในทะเลอ่าวไทย ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน และยังกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดระยอง ในหลายมิตินํ้ามันดิบที่รั่วไหลซึ่ งถือเป็ นวัตถุอันตรายมีพิษ ประกอบกับในขณะเกิดเหตุนั้นพื้นที่ดังกล่าวถือได้ว่า เป็นแหล่งกําเนิดมลพิษ ตามคํานิยามแหล่งกําเนิดมลพิษ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ และถือได้ว่านํ้ามันดิบที่รัวไหลออกจากท่อขนถ่ายนํ้ามัน( นํ้ามันดิบ) ออกสู่ทะเลยังเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายโดยสภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา ๔๒๗ นอกจากนี้บริษัท สตาร์ ปิโตเลี่ยม รีไฟน์นิ่งจำกัด(มหาชน )ได้เกิดเหตุซํ้าซ้อน เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลาประมาณ ๐๙.๒๐ น. เหตุที่เกิดขึ้นถือว่าเป็ นโศกนาฎกรรมทางทะเลซํ้าในพื้นที่ทะเลระยองอีกครั้ง นํ้ามันดิบรั่วไหลประมาณ ๕,๐๐๐ ลิตร( ตัวเลขยังไม่ปรากฏเป็ นที่แน่ชัด ทั้ง สองเหตุการณ์ ) เกิดขึ้นซํ้าเป็ นครั้งที่ ๒ ตรงบริเวณเดิม บริษัท สตาร์ ปิโตเลี่ยม รีไฟน์นิ่ง จํากัด (มหาชน ) ประกอบกับเป็ นบริษัทมหาชนจํากัด มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินธุรกิจปิโตเลียม จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงต้องประกอบกิจการด้วยความระมัดระวัง ความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส การกระทําที่เป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษและเป็นแหล่งกําเนิดมลพิษจะเป็ นการกระทําที่ ประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังอย่างบุคคลผู้มีวิชาชีพพึงระวังส่งผลทําให้เกิดอันตรายและส่งผลกระทบในหลายมิติด้วยเหตุดังกล่าวเครือข่ายสมาคมฯจึงนําความมาร้องเรียนและขอใคร่ความอนุเคราะห์ต่อท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยองเร่งตรวจสอบสาเหตุสถานการ์นํ้ามันดิบรั่วไหล สั่งการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข และเร่งรัดพลักดัน การชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด เร่งสํารวจฟื้นฟูประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๑ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ ( ๑ ) ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ และหมวดที่ ๕ หน้าที่ของรัฐมาตรา ๕๓ รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด , มาตรา ๕๗ ( ๒ ) อนุรักษ์ คุ้มครอง บํารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการและใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยังยืน ่ โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดําเนินการและได้ประโยชน์จากการดําเนินการดังกล่าว , มาตรา ๕๙ รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะในความครอบครองของหน่วยงานรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมันคงของรัฐหรือเป็นความลับของ ่ทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยสะดวก เครือข่ายสมาคมฯและเป็นผู้มีทะเบียนบ้านในจังหวัดระยองอีกทั้งหมวดที่ ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก หน้า ๑๓ มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ดังนี้ ( ๘ ) ร่วมมือสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทาง ชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม เครือข่ายสมาคมฯ

“หนึ่ง” วีระชัย ช้างสาร เครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ภาคตะวันออก
ยื่นหนังสือให้ผู้ว่าระยอง เร่งตรวจสอบสาเหตุสถานการ์นํ้ามันดิบรั่วไหล ลงทะเลระยอง

จึงขอให้มีการตรวจเร่งสอบโดยเร็วพลันพร้อมเร่งหาผู้ที่กระทําการละเมิดกฎหมายแพ่งและอาญาและขอให้เปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริงโดยมีรายละเอียดทั้งดังนี้๑ นํ้ามันดิบที่รั่วไหล ทั้งสองเหตุการณ์มีจํานวนปริมาณเท่าไหร่ ปัจจุบันยังมีความสับสน คลุมเครือ เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัวเลขแรกที่ทุกคนรับรู้คือ ๔๐๐,๐๐๐ ลิตรหลังการประเมินในคืนแรก๒ จากการที่ใช้สารเคมีDispersant เพื่อสลายคราบนํ้ามันที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ใช้ในปริมาณเท่าไหร่ ( ครั้งแรก ใช้ไปทั้งสิ้นสามครั้งประมาณ ๘๕,๐๐๐ ลิตร ) ใช่หรือไม่และในครั้งที่ ๒ ที่เกิดเหตุในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ได้มีการใช้สารเคมี Dispersant หรือไม่และถ้ามีการใช้ ใช้ในปริมาณเท่าไหร่และทั้งสองเหตุการณ์การใช้สาร Dispersant ระดับความลึกของนํ้าทะเลมีความลึกเท่าไหร และห่างจากฝั่ง เท่าไหร่ ( เพราะในปี ๒๕๕๖ ที่บริษัท ปิโตเลี่ยม แห่งนึงเคยเกิดหตุในลักษณะนี้ กล่าวคือนํ้ามันดิบรั่วไหลกระจายออกสู่ทะเล จํานวนกว่า ๕๐ ตันหรือประมาณ ๕๔,๓๔๑ ลิตร คณะกรรมการฯระบุว่าได้ใช้สารเคมีไปทั้งสิน ๓๗,๕๕๔ ลิตรเพื่อกําจัดคราบนํ้ามันขณะที่อัตราส่วนที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์สากลคือ ๑ ต่อ ๑๐ กล่าวคือ สารเคมี ๑ ส่วน ต่อปริมาณนํ้ามันดิบ ๑๐ ส่วน )๓ บริษัท ( SPRC ) ได้จัดให้มีเครืองมือและอุปกรณ์ขจัดคราบนํ้ามันในกรณีฉุกเฉินซึ่งสอดคล้องกับมาตราฐานความปลอดภัยสากล หรือไม่ อย่างไร๔ บริษัท ( SPRC ) ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย เรื่องการขนส่งนํ้ามันทางทะเลตามกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร๕ บริษัท ( SPRC ) เข้าข่ายตามประกาศระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมว่าด้วยการกําหนดโครงการ กิจการหรือการดําเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมประเภทโครงการ ( EIA ) ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในเล่มรายงาน EIA หรือไม่๖ ขอให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ ISO 14001:2015 มาตรฐานระบบบริหารสิ่งแวดล้อม และ ISO 45001:2018 มาตรฐานระบบบริหาร ด้านชีวะอนามัย และความปลอดภัย หากปรากฏว่าไม่เป็นไปตามมาตราฐานที่กฎหมายกําหนด ขอให้ทบทวน พิจารณาเพิกถอน ISO ดังกล่าวเสีย รวมถึง ISO ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนนี้๗ **** ขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในเชิงรุกจักอํานวยความยุติธรรมให้กับสังคมตามหลักกฎหมายมหาชน เร่งพลักดันเยียวยาผ้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด และจริงจังโดยคํานึงถึงสิทธิชุมชนของประชาชน อันจะอํานวยความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้สมกับ บริษัทผู้ก่อเหตุดังกล่าว เป็น บริษ้ท มหาชน

รายงาน บก.ฐนกร เปรมสมบัติ 0624200456