หนึ่ง วีระชัย เครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ขอคัดเล่มรายงาน EIA ของ บ.SPRC ที่กรมเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ระยอง

หนึ่ง วีระชัย ช้างสาร  เครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ประจำพื้นที่ภาคตะวันออก ยื่นหนังสือขอคัด เล่มรายงาน EIA  ที่กรมเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ระยอง ของ บริษัท สตาร์ ปิโตเลี่ยมรีไฟน์นิ่ง จำกัด  (มหาชน )

ด้วยเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๒๑.๐๐ น. พบน้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเลหรือจุดถ่ายน้ำมันในทะเล Single point mooring: (SPM) ของ บริษัท สตาร์ปิโตเลี่ยมรีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน) หรือ  SPRC ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยองจากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบเกิดความเสียหายมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ต่อตัวบุคคลกลุ่มบุคคลในสังคมเป็นวงกว้างอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมแหล่งอาหารทรัพยากรและระบบนิเวศน์ในทะเลอ่าวไทยที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ร่วมกันและยังกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดระยองในหลายมิติด้วยเหตุดังกล่าวในข้างต้นเครือข่ายสมาคมฯ จึงมีวัตถุประสงค์ขอคัดสำเนาเล่มรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ของ บริษัท สตาร์ปิโตเลี่ยมรีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน)

ที่เข้าข่ายเรื่องกำหนดประเภทโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ และการที่เครือข่ายสมาคมฯ ขอคัดสำเนาก็เพื่ออยากทราบในรายงาน EIA ได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญหรือมาตราการปกกันด้านความปลอดภัยและชีวะอนามัยและสิ่งแวดล้อมไว้อย่างไรและ บริษัท ดังกล่าวได้ปฏิบัติตามที่ระบุในเล่มรายงาน EIA หรือไม่ดังนั้นแล้ว EIA อันอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการประเมินลกระทบสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเครือข่ายสมาคมฯ พิเคราะห์แล้วเห็นว่าการขอเอกสารดังกล่าวของเครือข่ายสมาคมฯ ยังไม่อาจถือได้ว่าจะเป็นการลุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควรตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง (๕) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ อีกทั้งไม่เข้าข่ายตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๕ และไม่เข้าข่ายข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

ประกอบกับที่เครือข่ายสมาคมฯ ใช้สิทธิในมาตรา 8 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติว่าบุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารได้และเครือข่ายสมาคมฯ เห็นว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ คือการให้ประชาชนมีโอกาสในการแสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างกว้างขวางในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆของรัฐประการต่อมาเครือข่ายสมาคมฯ เห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐมาตรา ๕๕ รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติและต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก

หากท่านเห็นว่ามิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่เครือข่ายสมาคมฯ ยื่นคำร้องขอที่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วก็ขอให้ท่านระบุไว้ด้วยว่าที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเหตุใดเพราะถือเป็นดุลยพินิจของท่านและเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและดุลยพินิจนั้นอาจถือได้ว่าเป็นการออกคำสั่งทางปกครองแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๕ และหากมิให้เปิดเผยเครือข่ายสมาคมฯ ในฐานะผู้ยื่นคำขอเอกสารจะได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติมาตรา ๑๗ บัญญัติว่าในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคําคัดค้านภายในเวลาที่กําหนด

รายงานข่าว ฐนกร เปรมสมบัติ