ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ผนึกกำลัง พัฒนาฟื้นฟูป่าชายเลน แบบยั่งยืน

ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3  Gulf MTP ผนึกกำลัง PTT โรงแยกก๊าซ ,SPRC,  GPSC , จับมือ ประมงเรือเล็กหาดสุชาดาพัฒนาฟื้นฟูป่าชายเลน แบบยั่งยืน

วันที่ 11 สิงหาคม 2566   โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ประกอบด้วย  สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) บริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด( Gulf MTP ) บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ (PMSC) ผนึกกำลัง PTT โรงแยกก๊าซ ,SPRC, GPSC , GLOW พัฒนาป่าชายเลนเทศบาลตำบลเนินพระ จ.ระยอง ซึ่งเป็นผืนป่าที่สำคัญแห่งหนึ่งใจกลางเมืองระยอง และอ่าวระยอง เป็นปอดของเมืองระยอง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทางทะเลที่เหลืออยู่ ที่ผ่านมาร่วมกับวิสาหกิจประมงเรือเล็กหาดสุชาดา

ซึ่งนำโดย นายลำเพย แว่วเสียง ประธานวิสาหกิจฯ และการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลเนินพระ หน่วยงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จ.ระยอง ได้จัดโครงการพัฒนาฟื้นฟูป่าชายเลนมาอย่างต่อเนื่อง และ 2 ปี ที่ผ่านมา ได้จัดโครงการปลูปป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรมรกร้างไปแล้วกว่า 5,000 ต้น โดยนำนวัตกรรมจุลอนทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มาใช้ในการปรับสภาพน้ำดินและเป็นปุ๋ยเพิ่มธาตุสารอาหารพืชในการปลูกต้นไม้ป่าชายเลนด้วยอย่างเป็นเป็นระบบครบกระบวนการมีการติดตามดูแลและกำจัดหญ้าและเถาวัลย์เปรียงศัตรูสำคัญของต้นกล้าไม้ป่าชายเลนและเสริมการเติบโตด้วย ปุ๋ยน้ำชีวภาพและจุลินทรีย์ก้อน ( Super NPK EM Ball ) ซึ่งผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนเองได้แล้ว

จากการส่งเสริมนำองค์ความรู้มาอบรมให้ผู้นำชุมชนและมีการจัดตั้งธนาคารจุลินทรีย์ชุมชนขึ้น เพื่อให้ชุมชนนำมาใช้ดูแลสิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย ทำปุ๋ย จากเศษปลาทะเลหมักที่มีคุณค่าสูงเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน สร้างเศรษฐกิจรายได้แก่ชุมชน ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม แบบยั่งยืน และยังขยยายเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง เช่น ปุ๋ยหมัก สารไล่แมลง การบำบัดน้ำเสีย การใช้เพื่อเกษตรและปศุสัตว์ ฯลฯ  

วันนี้ กลุ่มตัวแทนบริษัทฯ และ ประธานวิสาหกิจและกรรมการ ร่วมกันลงพื้นที่ติดตามแปลงปลูกป่าชายเลนแห่งนี้ เพื่อร่วมกันตัดหญ้าวัชพืช ติดตามการเจริญเติบโตเป็นระยะ  และ นำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยก้อน ( Super NPK EM Ball ) ไปฝัง โยนให้ปุ๋ย ปรับสภาพดินน้ำเพิ่มออกซิเจนในอากาศ ปรับชีวภาพของระบบนิเวศเพิ่มการระเบิดดินโคลนเพิ่มย่อยสลายให้เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต  ซึ่ง นายลำเพย แว่วเสียง ประธานวิสาหกิจ และคณะที่ลงพื้นที่ เห็นเป็นที่ประจักษ์ และ แลกเปลี่ยนกันสรุปว่า “ การปลูกป่าชายเลนด้วยวิธีการใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ฯ (Effective Microorganisms) มีการเจริญเติบโตสวยงามและมีการแตกรากแขนงหลักมากแข็งแรงโตเร็วกว่า ต้นไม้ที่เคยปลูกป่าชายเลนมาก่อนหน้านั้นมากมาก และอัตราการรอดมีมากกว่าที่ผ่านมามากทีเดียว ….เพียง 1-2 ปี การเติบโตสูงกว่า 1.20- 1.50 เมตร       

นายลำเพย แว่วเสียง ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ  กล่าวว่า ผมอยู่กับป่าชายเลนแห่งนี้มาโดยตลอด และร่วมปลูกป่านี้ในหลายแปลงโดยรอบเทศบาลตำบลเนินพระ ฯ และเป็นศูนย์กลางร่วมกับคนในชุมชนดูแลป่าในพื้นที่นี้ พบว่า ในเบื้องต้นที่ผ่านมาที่กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมข้างต้นเข้าร่วมมือกันสนับสนุนตามแนวทางที่ ที่ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนฯ และศูนย์วิชาการข่าวไทกรุ๊ป นำโดย บก.สุริยา ข่าวไท ที่นำความรู้มาส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน และนำมาใช้ในแปลงปลูกป่าชายเลนฟื้นฟูระบบนิเวศน์นี้ เกิดผลดีกว่าเดิมชัดเจนดังกล่าวข้างต้น

ชุมชนร็สึกพอใจมากและป่านี้มีโอกาสฟื้นฟูต้นไม้ให้เจริญเติบโตเต็มพื้นที่ จะเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ทะเล และอาชีพชาวประมง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของคนระยองและนักท่องเที่ยวต่อไป ขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่มาร่วมในวันนี้ และ อีกหลายหน่วยงานที่สนับสนุนมาโดยตลอด ทั้งนี้วิสาหกิจจะเป็นศูนย์กลางในการร่วมพัฒนาฟื้นฟูผืนป่าแห่งนี้ด้วยความตั้งใจเพื่อลูกหลานและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกัน ขอขอบคุณ

รายงานข่าว/ฐนกร เปรมสมบัติ